โพสต์ที่ได้รับความนิยม

วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ปัญหาการตอบข้อสอบอัตนัยของนักศึกษา

บทนำ
เป็นข้อสงสัยและถกเถียงกันมานานแล้วว่า การที่สถาบันการศึกษาของไทยนิยมหันมาใช้ข้อสอบแบบปรนัยแทนการใช้ข้อสอบแบบอัตนัยจะเป็นผลดีต่อนักเรียนนักศึกษาหรือเป็นผลเสียมากกว่ากัน สำหรับครูอาจารย์แล้วอาจจะรู้สึกว่าข้อสอบแบบอัตนัยออกง่ายแต่ตรวจยาก ส่วนนักเรียนนักศึกษาจะรู้สึกว่าข้อสอบแบบอัตนัยมีความยากลำบากในการทำมากกว่า ปัญหาว่าจะใช้ข้อสอบชนิดแบบไหนดีกว่ากัน คงขึ้นกับว่ามองในแง่ไหน และขึ้นอยู่กับความพอใจของทั้งฝ่ายผู้สอนและผู้เรียน เอาเป็นว่า "ไม่ว่าแมวขาวหรือแมวดำ ขอเพียงจับหนูได้ก็คือแมวที่ดี"(เติ้ง เสี่ยวผิง อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน) เพราะข้อสอบที่ดีคงมีได้หลายแบบขอเพียงให้สามารถวัดความรู้ความสามารถได้ดีและมีอำนาจจำแนกดีก็น่าจะเพียงพอแล้วนักศึกษาจำนวนมากพากันเรียนให้จบระดับปริญญาตรีขึ้นไป เพียงเพื่อให้ได้รับปริญญาไว้ประดับบ้าน กระดาษใบหนึ่งที่ใส่กรอบขวนติดฝาผนังบ้านนี้ กว่าจะได้มาต้องใช้ทั้งเวลาเงิน และความพยายาม ฯลฯ อย่างมาก ตลอดจนต้องใช้ความอดทนผ่านการสอบมานับร้อยครั้งด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า"ข้อสอบ" โดยมี "คะแนน"เป็นผลตอบแทนที่ทุกคนรอคอย เป้าหมายการศึกษาจึงอาจจะไม่ใช่เรียนเพื่อรู้ แต่ถูกแปรเปลี่ยนไปเป็นเรียนเพื่อสอบ ทั้งที่การสอบเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งทางการศึกษา เพื่อประเมินว่า
ผู้เรียนนั้นรู้และเข้าใจสิ่งที่เรียนหรือไม่ จนผู้เรียนอาจลืมไปว่า "ทุกคนมาเรียนเพื่อเอาความรู้ไปใช้ไม่ใช่มาเรียนเพียงเพื่อสอบให้ได้ปริญญามาครอบครอง" จึงพอใจที่จะทำข้อสอบแบบปรนัยมากกว่า เพราะมีคำตอบที่ถูกต้องให้เลือกอยู่แล้วโดยไม่ต้องใช้ความสามารถของตนเองเขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบด้วยตนเอง ซึ่งขัดกับแนวคิดที่ว่า "การเรียนรู้โดยปราศจากการคิดคือแรงงานที่สูญเปล่า และการคิดโดยปราศจาก
การเรียนรู้ คือ อันตราย" ที่ขงจื๊อกล่าวไว้กว่าสองพันปีมาแล้ว

สรุป
แม้มีนักวิชาการศึกษาจำนวนหนึ่งที่เห็นว่าข้อสอบแบบอัตนัยนั้น ทำให้นักศึกษาบางคนได้เปรียบและบางคนก็เสียเปรียบในการทำข้อสอบ เพราะความสามารถในการเขียนและตอบคำถามของนักศึกษาแต่ละคนอาจจะมีไม่เท่ากัน แต่สิ่งหนึ่งที่ทั้งครูอาจารย์และนักศึกษาควรจะตระหนักก็คือ ความสามารถนั้นพัฒนากันได้ จากความอ่อนแอในระบบการศึกษาของไทย ทำให้นักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยปัจจุบันจำนวนมากเขียนหนังสือไทยได้ไม่ดี และยิ่งข้อสอบเน้นการออกปรนัยมากขึ้น โอกาสในการเขียนของนักศึกษาก็ลดลง จึงทำให้ความสามารถในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียน ของเยาวชนคนรุ่นใหม่ในปัจจุบันมีปัญหาอย่างมาก
ถึงแม้ว่าผู้เขียนจะมีความเห็นว่าในการเป็นผู้นำที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีความสามารถในการฟัง คิด พูด แต่สำหรับการเขียนนั้นในระดับพนักงานทุกคนหากต้องการประสบความสำเร็จในการทำงาน จำเป็นอย่างมากที่จะต้องเขียนหนังสือตอบโต้หรือรายงานเป็น เพื่อให้สามารถสื่อสารกับผู้ร่วมงานและผู้บังคับบัญชาได้มีประ-
สิทธิภาพ ดังนั้น จึงเป็นการจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องรื้อฟื้นระบบการสอนภาษาไทยตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาใหม่ทั้งหมด และต้องเพิ่มการฝึกฝนการอ่าน ฟัง พูด เขียนมากขึ้นในชั้นเรียนทุกระดับณะที่ในส่วนตัวนักศึกษาเอง ก็ต้องให้ความสำคัญกับวิชาภาษาไทยมากขึ้น ตลอดจนฝึกให้ชอบการอ่านนิยายและวรรณกรรม เพราะจะมีประโยชน์ต่อการเขียนคำตอบข้อสอบทั้งทางตรงและทางอ้อมและเพื่อเป็นฝึกฝนการเขียนของนักศึกษา อาจารย์จึงควรออกข้อสอบอัตนัยให้มากขึ้นโดยต้องให้เวลาเพิ่มขึ้นสำหรับอาจารย์ผู้ตรวจข้อสอบ จึงจะทำให้สามารถออกข้อสอบเป็นแบบอัตนัยได้มากขึ้น

 ข้อเสนอแนะ
บทความนี้เขียนโดยอาศัยข้อมูลจากประสบการณ์ในการตรวจข้อสอบของนักศึกษาคณะต่างโดยมีกระดาษคำตอบหลายวิชา หลายภาคการศึกษา และจากนักศึกษาหลายสาขาวิชาที่แตกต่างกัน พบว่ามีปัญหาในการตอบข้อสอบที่คล้ายคลึงกัน จึงควรมีการทำการวิจัยเพื่อค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหาการตอบข้อสอบอัตนัยของนักเรียนนักศึกษาที่อื่นๆ และหาวิธีการในการพัฒนา การตอบข้อสอบจากนักวิชาการการศึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา

อ้า อิ
นวลทิพย์ เพิ่มเกษร และคำยวง ศรีธวัช. (2538). การตอบข้อสอบอัตนัย. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รัตนา ศิริพานิช. (2535). หลักการสร้างแบบสอบวัดทางจิตวิทยาและทางการศึกษา. กรุงเทพ : ธรรมสาร.
วิชัย กอสงวนมิตร. (2552). 33 กฎทองสู่ความสำเร็จในการเป็นผู้นำ. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ Think beyond.
Chakkrish J.K (Feb 22, 2009). ปัญหาของคนรุ่นใหม่. Retrived June 20,2010 from
http://www.oknation.net/blog/chakkrish
Nun. 2504.(Jan 16,2009) ทำข้อสอบให้ดี. Retrived June 20,2010 fromttp://www.oknation.net/blog/nun2504/2010/02/13/entry-