โพสต์ที่ได้รับความนิยม

วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์

   ในขณะที่โครงงานคอมพิวเตอร์นั้นจะมีการแบ่งประเภทแตกต่างกันออกไป เนื่องจากการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ต้องใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ ในการศึกษาทดลอง โครงงานคอมพิวเตอร์จัดเป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์เนื่องจากช่วยให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้และฝึกทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ พร้อมทั้งเครื่องมือต่างๆ ในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และยังจัดเป็นโครงงานตามความสนใจ สามารถทำโครงงานคอมพิวเตอร์จากปัญหาที่ตนสนใจ อาจเป็นปัญหาที่ต้องใช้ความรู้ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาผสมผสานกัน ซึ่งบางโครงงานอาจต้องใช้ความรู้อื่นๆ มาร่วมด้วย  และเนื่องจากคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในทุกสาขาวิชา ดังนั้นโครงงานคอมพิวเตอร์จึงมีความหลากหลายทั้ง ในลักษณะของเนื้อหา กิจกรรม และประโยชน์หรือผลงานที่ได้ โครงงานคอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ในที่นี้แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ
1.   โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media Development)
2.   โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
3.   โครงงานจำลองทฤษฏี (Theory Simulation)
4.   โครงงานประยุกต์ใช้งาน (Application)
5.   โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)
 


1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media Development)
       ลักษณะเด่นของโครงงานประเภทนี้คือ เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียนหรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่มการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ ถือว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบออนไลน์ ให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้ โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่างๆ โดยผู้เรียนอาจคัดเลือกเนื้อหาที่เข้าใจยากมาเป็นหัวข้อในการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
       ตัวอย่างโครงงาน เช่น การเคลื่อนที่แบบโปรเจ็กไตล์ ระบบสุริยจักรวาล  ตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อการชำกิ่งกุหลาบ หลักภาษาไทย  และสถานที่สำคัญของประเทศไทย บทเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐานผ่านทางมือถือ (Basic English Learning on Mobile Phone)  ภาษามือเรียนรู้ได้ ง่ายนิดเดียว แบบจำลองผสมแบบแยกแยะสำหรับการแบ่งคำไทย เป็นต้น
cai03
2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
       โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือช่วยสร้างงานประยุกต์ต่างๆ โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปซอฟต์แวร์ เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน และซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่างๆ เป็นต้น สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลคำ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้ในการพิมพ์งานต่างๆ  บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนซอฟต์แวร์การวาดรูป พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้การวาดรูปบนเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปได้โดยง่าย สำหรับซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่างๆ ใช้สำหรับช่วยการออกแบบสิ่งของ อาทิเช่น ผู้ใช้วาดแจกันด้านหน้า และต้องการจะดูว่าด้านบนและด้านข้างเป็นอย่างไร ก็ให้ซอฟต์แวร์คำนวณค่าและภาพที่ควรจะเป็นมาให้ เพื่อพิจารณาและแก้ไขภาพแจกันที่ออกแบบไว้ได้อย่างสะดวก เป็นต้น
         ตัวอย่างโครงงานพัฒนาเครื่องมือ เช่น โปรแกรมช่วยอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อย่างชาญฉลาด โปรแกรมไบรท์ไซต์ (Bright Sight) เป็นต้น
canvaspro-screenshot1-web
  
3. โครงงานจำลองทฤษฏี (Theory Simulation)
         โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจำลองการทดลองของสาขาต่างๆ ซึ่งเป็นงานที่ไม่สามารถทดลองด้วยสถานการณ์จริงได้ เช่น การจุดระเบิด เป็นต้น และเป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริง และแนวคิดต่างๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษาแล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตร สมการ หรือคำอธิบาย พร้อมทั้งจำลองทฤษฏีด้วยคอมพิวเตอร์ให้ออกมาเป็นภาพ ภาพที่ได้ก็จะเปลี่ยนไปตามสูตรหรือสมการนั้น ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างดี
       
         ตัวอย่างโครงงานจำลองทฤษฎี เช่น การทดลองเรื่องการไหลของของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาปิรันย่า และการทดลองเรื่องการมองเห็นวัตถุแบบสามมิติ   CUVMiner : Volume Data Mining Software Using 3D Field Topology Analysis เป็นต้น
250200
  
4. โครงงานประยุกต์ใช้งาน (Application)
        โครงงานประยุกต์ใช้งานเป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานเพื่อ ประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งภายในอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี และซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ ซึ่งอาจเป็นการคิดสร้างสิ่งของขึ้นใหม่ หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น  โครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้นๆ ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบการทำงานหรือทดสอบคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับ ปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้ผู้เรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
Free-interior-design-program-2
process control solutions2
5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)
        โครงงานพัฒนาเกมเป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้ และ/หรือ ความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมากรุก เกมทายคำศัพท์ และเกมการคำนวณเลข เป็นต้น ซึ่งเกมที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะเน้นให้เป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกความคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจแก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วไป และนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้เป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่างๆ
พัฒนาเครื่องมือ
       การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์นั้น ผู้เรียนควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หลักการที่ใช้ในการแก้ปัญหา กระบวนการแก้ปัญหา หลักการเขียนโปรแกรม และการแทนข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ก่อนที่จะเริ่มทำโครงงาน และใช้ความรู้ดังกล่าวเป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้ใหม่ในโครงงาน คอมพิวเตอร์ โดยในการทำโครงงานผู้เรียนอาจจะมีโอกาสได้ทำความรู้จักกับความรู้ใหม่เพิ่ม เติมอีกด้วย เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) การออกแบบฐานข้อมูล (Database Design) และการสืบค้นข้อมูล (Information Retrieval) เป็นต้น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับหัวข้อที่ผู้เรียนเลือกทำโครงงาน

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ปัญหาการตอบข้อสอบอัตนัยของนักศึกษา

บทนำ
เป็นข้อสงสัยและถกเถียงกันมานานแล้วว่า การที่สถาบันการศึกษาของไทยนิยมหันมาใช้ข้อสอบแบบปรนัยแทนการใช้ข้อสอบแบบอัตนัยจะเป็นผลดีต่อนักเรียนนักศึกษาหรือเป็นผลเสียมากกว่ากัน สำหรับครูอาจารย์แล้วอาจจะรู้สึกว่าข้อสอบแบบอัตนัยออกง่ายแต่ตรวจยาก ส่วนนักเรียนนักศึกษาจะรู้สึกว่าข้อสอบแบบอัตนัยมีความยากลำบากในการทำมากกว่า ปัญหาว่าจะใช้ข้อสอบชนิดแบบไหนดีกว่ากัน คงขึ้นกับว่ามองในแง่ไหน และขึ้นอยู่กับความพอใจของทั้งฝ่ายผู้สอนและผู้เรียน เอาเป็นว่า "ไม่ว่าแมวขาวหรือแมวดำ ขอเพียงจับหนูได้ก็คือแมวที่ดี"(เติ้ง เสี่ยวผิง อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน) เพราะข้อสอบที่ดีคงมีได้หลายแบบขอเพียงให้สามารถวัดความรู้ความสามารถได้ดีและมีอำนาจจำแนกดีก็น่าจะเพียงพอแล้วนักศึกษาจำนวนมากพากันเรียนให้จบระดับปริญญาตรีขึ้นไป เพียงเพื่อให้ได้รับปริญญาไว้ประดับบ้าน กระดาษใบหนึ่งที่ใส่กรอบขวนติดฝาผนังบ้านนี้ กว่าจะได้มาต้องใช้ทั้งเวลาเงิน และความพยายาม ฯลฯ อย่างมาก ตลอดจนต้องใช้ความอดทนผ่านการสอบมานับร้อยครั้งด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า"ข้อสอบ" โดยมี "คะแนน"เป็นผลตอบแทนที่ทุกคนรอคอย เป้าหมายการศึกษาจึงอาจจะไม่ใช่เรียนเพื่อรู้ แต่ถูกแปรเปลี่ยนไปเป็นเรียนเพื่อสอบ ทั้งที่การสอบเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งทางการศึกษา เพื่อประเมินว่า
ผู้เรียนนั้นรู้และเข้าใจสิ่งที่เรียนหรือไม่ จนผู้เรียนอาจลืมไปว่า "ทุกคนมาเรียนเพื่อเอาความรู้ไปใช้ไม่ใช่มาเรียนเพียงเพื่อสอบให้ได้ปริญญามาครอบครอง" จึงพอใจที่จะทำข้อสอบแบบปรนัยมากกว่า เพราะมีคำตอบที่ถูกต้องให้เลือกอยู่แล้วโดยไม่ต้องใช้ความสามารถของตนเองเขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบด้วยตนเอง ซึ่งขัดกับแนวคิดที่ว่า "การเรียนรู้โดยปราศจากการคิดคือแรงงานที่สูญเปล่า และการคิดโดยปราศจาก
การเรียนรู้ คือ อันตราย" ที่ขงจื๊อกล่าวไว้กว่าสองพันปีมาแล้ว

สรุป
แม้มีนักวิชาการศึกษาจำนวนหนึ่งที่เห็นว่าข้อสอบแบบอัตนัยนั้น ทำให้นักศึกษาบางคนได้เปรียบและบางคนก็เสียเปรียบในการทำข้อสอบ เพราะความสามารถในการเขียนและตอบคำถามของนักศึกษาแต่ละคนอาจจะมีไม่เท่ากัน แต่สิ่งหนึ่งที่ทั้งครูอาจารย์และนักศึกษาควรจะตระหนักก็คือ ความสามารถนั้นพัฒนากันได้ จากความอ่อนแอในระบบการศึกษาของไทย ทำให้นักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยปัจจุบันจำนวนมากเขียนหนังสือไทยได้ไม่ดี และยิ่งข้อสอบเน้นการออกปรนัยมากขึ้น โอกาสในการเขียนของนักศึกษาก็ลดลง จึงทำให้ความสามารถในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียน ของเยาวชนคนรุ่นใหม่ในปัจจุบันมีปัญหาอย่างมาก
ถึงแม้ว่าผู้เขียนจะมีความเห็นว่าในการเป็นผู้นำที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีความสามารถในการฟัง คิด พูด แต่สำหรับการเขียนนั้นในระดับพนักงานทุกคนหากต้องการประสบความสำเร็จในการทำงาน จำเป็นอย่างมากที่จะต้องเขียนหนังสือตอบโต้หรือรายงานเป็น เพื่อให้สามารถสื่อสารกับผู้ร่วมงานและผู้บังคับบัญชาได้มีประ-
สิทธิภาพ ดังนั้น จึงเป็นการจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องรื้อฟื้นระบบการสอนภาษาไทยตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาใหม่ทั้งหมด และต้องเพิ่มการฝึกฝนการอ่าน ฟัง พูด เขียนมากขึ้นในชั้นเรียนทุกระดับณะที่ในส่วนตัวนักศึกษาเอง ก็ต้องให้ความสำคัญกับวิชาภาษาไทยมากขึ้น ตลอดจนฝึกให้ชอบการอ่านนิยายและวรรณกรรม เพราะจะมีประโยชน์ต่อการเขียนคำตอบข้อสอบทั้งทางตรงและทางอ้อมและเพื่อเป็นฝึกฝนการเขียนของนักศึกษา อาจารย์จึงควรออกข้อสอบอัตนัยให้มากขึ้นโดยต้องให้เวลาเพิ่มขึ้นสำหรับอาจารย์ผู้ตรวจข้อสอบ จึงจะทำให้สามารถออกข้อสอบเป็นแบบอัตนัยได้มากขึ้น

 ข้อเสนอแนะ
บทความนี้เขียนโดยอาศัยข้อมูลจากประสบการณ์ในการตรวจข้อสอบของนักศึกษาคณะต่างโดยมีกระดาษคำตอบหลายวิชา หลายภาคการศึกษา และจากนักศึกษาหลายสาขาวิชาที่แตกต่างกัน พบว่ามีปัญหาในการตอบข้อสอบที่คล้ายคลึงกัน จึงควรมีการทำการวิจัยเพื่อค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหาการตอบข้อสอบอัตนัยของนักเรียนนักศึกษาที่อื่นๆ และหาวิธีการในการพัฒนา การตอบข้อสอบจากนักวิชาการการศึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา

อ้า อิ
นวลทิพย์ เพิ่มเกษร และคำยวง ศรีธวัช. (2538). การตอบข้อสอบอัตนัย. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รัตนา ศิริพานิช. (2535). หลักการสร้างแบบสอบวัดทางจิตวิทยาและทางการศึกษา. กรุงเทพ : ธรรมสาร.
วิชัย กอสงวนมิตร. (2552). 33 กฎทองสู่ความสำเร็จในการเป็นผู้นำ. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ Think beyond.
Chakkrish J.K (Feb 22, 2009). ปัญหาของคนรุ่นใหม่. Retrived June 20,2010 from
http://www.oknation.net/blog/chakkrish
Nun. 2504.(Jan 16,2009) ทำข้อสอบให้ดี. Retrived June 20,2010 fromttp://www.oknation.net/blog/nun2504/2010/02/13/entry-